อยู่ใกล้ใคร ก็จะเป็นหมือนคนนั้นๆ จริงหรือ? คำถามและคำพูดเหล่านี้ ถ้าผู้อ่านอยู่ในแวดวงการพัฒนาตัวแอง คงจะจำได้ว่ามันเคยเป็นจริงมาก ถึงมากที่สุด นั่นคือจะคิดอย่างไรมันก็ใช่ แต่ต่อๆ มาประมาณ สิบปีให้หลัง นับตั้งแต่ 2010 โดยประมาณ ที่โซเซียลมีเดีย เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตเรามากขึ้น เรามาดูไปพร้อมๆ กันว่า คำพูดเหล่านี้ยังจะจริงอยู่หรือไม่ อย่างไร?
คำคมของนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ (Motivational Speakers) รุ่นเก่าอย่างคุณ จิม โรน (Jim Rohn) เคยกล่าวไว้ว่า เราเป็นค่าเฉลี่ยของ 5 คนที่เราอยู่ใกล้มากที่สุด “You're the average of the five people spend the most time with” ถ้าจะตีความหมายให้ตรงไปตรงมา ตามประโยคที่เขาได้พูดไว้ก็คือว่าเราใช้เวลาอยู่ใคร เราก็จะเป็นค่าเฉลี่ยของกลุ่มคนนั้นๆ หรือก็ไม่ก็เหมือนๆ หรือประมาณเดียวกัน (5 คนที่พูดถึง หากท่านผู้อ่านเลือกไว้ 5 คนนั้นๆ อาจเป็นคนที่่บ้าน ที่โรงเรียน หรือที่ทำงาน)
แต่ในความมุ่งหมายของเขาคือ เขาอยากให้เราได้คิดต่อว่า ถ้า 5 คนเหล่านั้นไม่ใช่คนใกล้ตัวล่ะ แต่หมายถึงคนที่มีผลกระทบต่อการคิด ตัดสินใจ และการกระทำของเรา ทั้งในทางที่ดี (เช่น ชอบเรียนรู้ ชอบเก็บเงิน ชอบออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ หรือชอบทำงานเพื่อสังคม ฯลฯ) เราก็มีแนวโน้มจะปรับตัวเปลี่ยนแปลงกับกับกลุ่มคนนั้นๆ แต่ถ้ากลุ่มคนเหล่านั้นอาจเป็นกลุ่มคนที่มีแนวคิดและพฤติกรรมที่ออกแนวลบสักหน่อย เช่น กินเที่ยวโดยไม่สนใจสุขภาพกายและการเงิน ไม่ใส่ใจเรื่องการพัฒนาตัวเอง ขี้อิจฉา นินทา หรือสุดโต่งถึงขั้น เล่นการพนัน ใช้สารเสพติด ฯลฯ เราก็มีแนวโน้มที่จะเห็นว่าเรื่องเหล่านั้นมันธรรมดาและอาจคล้อยตามได้ แต่บางคนอาจแยังว่า เราเป็นคนธรรมดาๆ ก็คบหาและอยู่กับคนกลางๆ เรื่อยๆ เรียงๆ เราก็น่าจะเป็นคล้ายๆ กับกลุ่มกลางๆ นี้เช่นกัน
ดังนั้นจึงถือได้ว่า คำคมนี้ยังคงใช้ได้ เพียงแต่เราต้องตีความให้ถ่องแท้ และเข้าถึงความตั้งใจและความหมายเชิงลึกของเขาคนนั้น แต่ที่เด็ดไปกว่านั้น อ้างถึงงานวิจัยของคุณเดวิท บังกัส (David Burkus) เกี่ยวกับเรื่องโซเซียลเน็ตเวอร์ค พบว่าตอนนี้ เราตอนนี้ไม่ได้นับแค่ 5 คนที่อยู่รอบตัวเราแล้วล่ะ เรากำลังถูกครอบงำจากทุกคนที่เราเกี่ยวข้องด้วยทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจจากสื่อโซเซียลมีเดีย และเพื่อนในเครือข่ายสื่อต่างๆ (เจ้าใหญ่ มีอะไรบ้าง? ยูทูปไอจี เฟสบุ๊ค ติ๊กต๊อกทวิตเตอร์ พินเทอร์เรส ไลน์ ฯลฯ) ที่เราอยู่ด้วยต่างหากที่กำหนดความคิด และอนาคตของเรา ไปโดยอัตโนมัติ ดังนั้นเราไม่ใช่แค่เป็นตัวเฉลี่ยหรือตัวกลางๆ ของ 5 คนที่เราอยู่ใกล้แล้วเท่านั้น แต่เราเป็นหนึ่งใน 5 6 7 8 9 ฯลฯ สื่อสังคมที่เราใช้เวลาด้วยต่างหาก
หลายท่านอาจจะแย้งว่า ไม่จริงมั้ง เราไม่ได้ติดสื่อโซเซียล แต่อย่างไรก็แล้วแต่สื่อเหล่านี้ก็มามีผลต่อเราไม่ทางใดก็ทางหนี่ง เช่น แม้เราไม่ได้ติดตาม ดู หรือ ฟัง แต่เราก็จะได้ยินจากคนใกล้ตัวที่ได้ดู (เช่น คนที่บ้านดูทีวีเรื่องนี้ เพื่อนที่โรงเรียนได้ดูคลิปนั้น หรือ เพื่อนที่ทำงานได้ฟังมา เพื่อนของเพื่อนๆ ส่งลิงค์ทางไลน์มาให้ เพราะเราอยู่ในไลน์กลุ่มเราก็เลยต้องได้ดู หรือแม้แต่เราจะไม่ดูเลย คนใกล้ตัวก็จะพยายามมาเล่าให้เราฟัง มาชวนให้ไปได้ยินกับหู ให้เราได้ดูด้วยตาตัวเองเป็นต้น
ลองดูซิว่าเราเริ่มจะคิดแบบคนๆ นั้น ไมว่าจะเป็นการพูด การเขียน หนังสือที่เริ่มอ่าน การออกกำลังกาย ใช้เสื้อผ้า มีสไตล์การแต่งหน้า แต่งตัว การเลือกใช้โทรศัพท์ การทำอาหาร เครื่องดื่มที่สั่ง สถานที่กินข้าว ที่เที่ยว สัตว์เลี้ยง การจัดบ้าน การจัดสวน การทำอาชีพเสริม การเปลี่ยนงานใหม่ สรุป ง่ายๆ รวมๆ คือวิถีการใช้ชีวิตหรือไลฟ์สไตล์เราเปลี่ยนไปหรือได้รับผลกระทบจากสื่อที่เราเสพอย่างไร เคยสังเกตุไหมว่าเรามักจะโพสต์หรือแชร์ เกี่ยวกับเรื่องอะไร จากใคร จากสื่อตัวไหน สิ่งที่เรากำลังทำตาม (ทั้งแบบรู้ตัว เช่น ที่เราทั้งตั้งใจเป็นแฟนพันธุ์แท้ติดตามทุกตอน และแบบไม่รู้ตัว ไม่ตั้งใจ เช่น มันเด้งขั้นมาเอง หรือเพื่อนส่งต่อๆ มาให้ดู) นั้นให้ผลดีหรือผลเสียกับชีวิตเราอย่างไร
สำหรับสุขภาพกาย แต่ละวันเราเริ่มที่จะเลือกอาหารที่กินว่ามันมีประโยชน์และดีต่อสุขภาพ แล้วสุขภาพใจล่ะ? ท่านได้ตั้งข้อสังเกตุกับตัวเองไหมว่า ในด้านอาหารใจและอาหารทางอารมณ์เราได้ได้คัดสรรสิ่งนั้นเพื่อตัวเองบ้างไหม? ดังนั้นในทุกวัน เวลา ที่เราอยู่กับโซเซียลมีเดีย ลองมาดูกันซิว่า เราอยู่กับสื่อตัวไหนมากที่สุด และสังเกตุตัวเองดูซิว่าเราส่งผลกระทบต่อผู้อื่นอย่างไร และ/หรือ ผู้อื่นส่งผลกระทบต่อเราอย่างไร เพราะโดยสรุปคือ เรา คือผลผลิตของสื่อ ที่เราเสพเข้าไปทุกวัน เราจะเป็นตัวเฉลี่ยของกลุ่มคนในสื่อต่างๆ ที่เราอยู่ด้วยตั้งแต่ตื่นเช้ามาจนเข้านอน ทุกวัน เราได้รับอิทธิพลโดยตรงจากสื่อทุกชนิดที่เราใช้เวลาอยู่กับมันในทุกวันและเวลานั่นเอง
Comments