top of page

หนึ่งหน้า...น่าอ่าน....ครูคือใคร: Teacher and learner

Updated: Feb 5, 2022

ทำไมลูก หรือคนรัก หรือคนใกล้ตัว หรือคนในครอบครัวติดโซเซียล?หลายคนอาจตั้งคำถามนี้และอาจรู้สึกน้อยใจนิดๆ ที่่เราไม่ได้เห็นความสำคัญของกันและกันแล้วหรือ คนที่เรารักและใกล้ชิดถึงได้แบ่งใจไปให้โซเชียลได้ขนาดนั้น


เราต้องขอบคุณ หรือ โทษเขาดีนะ? คนที่คิดแอพลิเคชั่นเรื่องโซเซียลมีเดียต่างๆ ขึ้นมา ต้องเข้าใจหลักการพื้นฐานในการคิดนี้ก่อนว่า มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม สัตว์สังคมแปลว่า เราอยู่ได้ด้วยการพึ่งพิงกันทั้งทางกายภาพ ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งที่อยู่อาศัย อาหารการกิน ยารักษาโรค เสื้อผ้า เครื่องใช้ไม้สอยที่จำเป็น โดยตามหลักการของมาสโลว์ คือ “Maslow's hierarchy of needs is a theory of motivation which states that five categories of human needs dictate an individual's behavior. Those needs are physiological needs, safety needs, love and belonging needs, esteem needs, and self-actualization needs.” (https://en.wikipedia.org/wiki/Maslow%27s_hierarchy_of_needs, 14/1/65)


แล้วต้องเข้าใจว่า เนื่องจากปัจจัยทางกายภาพและความปลอดภัยหรือขั้นที่ 1 และ 2 นั้นมันมีมากจนเกินพอแล้ว ทำให้ผู้คนในปัจจุบันได้ตามหาขั้นที่ 3 อยากมาก มีความต้องการอย่างหนัก ซึ่งปกติความรักและการได้รับการยอมรับก็มักจะได้รับจากครอบครัวหรือคนใกล้ตัว แต่ก็อาจเป็นได้ว่า หนึ่ง เขาไม่ได้รับความรักและการยอมรับจากครอบครัวเขาถึงต้องไปหาเพิ่มจากโซเซียลหรือสังคมข้างนอก จะสังเกตุได้ว่าในสมัยก่อนที่ยังไม่มีโซเซียลมีเดียในครอบครัวที่ไม่ได้เติมเต็มให้สมาชิก เขาก็มักจะออกจากบ้านเร็ว เด็กผู้หญิงก็อาจไปหาการยอมรับจากเพศตรงข้ามเร็วหรือทำตัวเป็นพี่ใหญ่ เป็นแม่กับคนนอกบ้าน หรือผู้ชายก็มักจะออกไปแสดงอิทธิฤิทธิ์ในแบบต่างๆ ที่แสดงความเป็นผู้ชาย ที่เรียกว่าเป็นแบบแมนๆ กันไปเลย ซึ่งกิจกรรมที่พวกเขาไปแสดงหรือไปทำนัั้นเป็นไปได้ทั้งสองทาง อาจมีทั้งการเรียกร้องการยอมรับจากสังคมในทางที่ดี เช่น เป็นผู้นำในด้านต่างๆ เช่น ด้านการกีฬา อาชีพ การแสดง เป็นต้นแบบต่างๆ หรือ อาจเป็นการต้องการแสดงการยอมรับในทางที่เกิดความเสียหายต่อเขาเอง ครอบครัว และสังคม ได้ เช่น การเป็นหัวหน้าแกงค์ที่ผิดศีลธรรม จริยธรรมเป็นต้น


สิ่งที่เป็นไปได้ในแบบที่สองคือ เขาอาจได้รับความรักและการยอมรับพอเพียง แต่อาจเป็นได้ว่าเขากำลังตามหาบันไดขั้นที่ 4 คือการยอมรับในตัวเอง (Esteem needs) ก็เป็นได้ โดยการแสดงออกในแบบต่างๆ เพื่อทดสอบถึงความพึงพอใจ หรือความต้านทานได้ในจิตใจของเขาเอง เช่น สมมติว่าเขาอาจจะแสดงพฤติกรรมบางอย่างออกเป็นประจำในโซเซียลมีเดีย (เช่น อาจโพสต์ พูด นำเสนอบางอย่างจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง) ในด้านความรู้สึกพึงพอใจ เขาจะเริ่มประเมินตัวเองได้ว่า แบบไหนที่เขารู้สึกดีที่สุด และเมื่อเขาชอบเขาก็จะทำเป็นประจำเพื่อตอกย้ำความเป็นตัวตนของเขา ส่วนในด้านความต้านทานหรือความรับได้ ก็ยกตัวอย่าง เช่น บางคนแม้เขารู้ว่าเขา ไม่ได้รับคำชมเชย บางครั้งก็อาจถูกคนด่าตลอดเวลาก็ได้ แต่เมื่อเขายังยืนยันที่จะทำต่อไป นั่นอาจหมายความว่า เขาได้เจอการยอมรับตัวเอง (Esteem needs) หรือการค้นเจอจุดสูงสุดของชีวิตตัวเองแล้ว (Self Actualization) โดยได้ค้นพบแล้วว่าเขาได้เจอในสิ่งที่เขาพอใจ ภูมิใจที่จะทำ ทำไปเพราะรู้สึกดี และบางครั้ง แม้ในบางอย่างคนทั่วไปจะไม่ยอมรับ แต่เขาก็ยังทำต่อไปได้โดยไม่ได้สนใจต่อการตอบรับจากสังคมภายนอก


ฉะนั้น (ในแง่ที่ดี) จะถือได้ว่าโซเซียลมีเดียเป็นตัวกระตุ้นให้คนค้นเจอตัวเองเร็วขึ้นไหม? แต่ถ้าแบ่งใจเผื่อให้กับฝั่งตรงกันข้ามบ้างว่า โซเซียลมีเดียจะทำให้คนไม่รู้จักตัวเอง ไม่รู้จักครอบครัวตัวเอง และไม่รู้จักแม้กระทั่งใครๆ ต่อใครที่อยู่ในโลกของโซเซียลมีเดีย กลายเป็นการหลงทางอยู่กลางดงมีเดียไหม? อันนี้แล้วแต่มุมมองเพราะขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้ประโยชน์จากมีเดียนี้อย่างไร?


ตอนแรกที่เขียนบทความนี้ขึ้นมานึกว่าจะเขียนเกี่ยวกับวันครู ซึ่งปีนี้คำขวัญวันครู 16 มกราคม 2565 คือ "พัฒนาครู พัฒนาเด็ก เรียนรู้สู่อนาคต" แต่พบว่าประสบการณ์จากการนำเสนอปีที่แล้ว ที่ใช้คำขวัญเป็นตัวนำ (ปีที่แล้ว คำขวัญวันครู 2564 คือ “ครูวิถีใหม่ ใส่ใจดิจิทัล สร้างสรรค์ คุณธรรม ประจำชาติ”) และพยายามดำเนินเรื่องไปตามนั้น คือการทำคลิปสัมภาษณ์ครูต้นแบบ นั้นค่อนข้างจะทำได้ยาก คือนัดเจอ และหาเวลากันไม่ได้ เลยได้สัมภาษณ์เพียงท่านเดียว ปีนี้เลยเป็นครูที่ต้องปรับตัวให้ทัน ไม่จำเป็นต้องทำอะไรในแบบดั้งเดิมเสมอไป การนำเสนอสามารถปรับเปลี่ยนไปได้ตามสถานการณ์ ยิ่งตอนนี้สถานการณ์โรคระบาดโควิท 19 กลับมาเป็นที่กังวลกันอีกครั้ง เลยเน้นการนำเสนอเป็นโซเซียลมีเดียในหลายช่องทาง



โดยสรุปก็คือ พยายามจะบอกว่าอินเทอร์เนต หรือ โลกออนไลน์ หรือ โลกโซเซียล นั้นเป็นเครื่องมือที่ดี แต่การที่เราจะเป็นเป็นครู โดยหัวใจ คือการใช้เครื่องมือเหล่านั้น ในการพูดคุย บอกสอน แลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกันต่างหาก ทุกวันเราเป็นครู เราแบ่งปันในสิ่งที่เรารู้ ทุกวันเราเป็นนักเรียน เราฝักใฝ่กับการค้นคว้า หาความรู้ สุขสันต์วันเด็กย้อนหลัง และให้มีความหวังกับวันครูค่ะ

48 views0 comments

Comments


bottom of page