ชื่อ: สื่อสาร นามสกุล: ติดต่อ ชื่อเล่น: ถ่ายทอด มิตรสหายและเครือญาติ: สนทนา พูดคุย สนใจ รับฟัง นำเสนอ ตอบสนอง
Name: Communicative Surname: Expressive Nickname: Conversational, Bubbly Chatty, Talkative Affiliate with: Exchange, Demonstrative, Informative, Expansion
คำกลุ่มนี้เรามักจะเห็นเขาเป็นทางการ เป็นเรื่องเป็นราว และอาจคิดว่าห่างไกลจากตัวเอง แต่ให้สังเกตุจากชื่อเล่นภาษาอังกฤษของคำนี้ จะมีคำว่า Chatty Bubbly Chatty, Talkative ซึ่งแปลรวมๆ ได้ว่าเป็นอะไรที่เข้าถึงได้ง่าย เป็นการสนทนา ช่างพูด ช่างคุย ซึ่งฟังแล้วจะรู้สึกสบายใจ และง่ายต่อการรับฟัง เรียนรู้ มากกว่าขื่อและนามสกุลจริงของเขาที่อาจตีความหมายได้ว่า การสื่อสาร ที่หลายปีมาแล้วเริ่มมีผลต่อการรับรู้ การเปลี่บนแปลงในการพัฒนาตนเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเรียน การศึกษาในระบบ เพราะเราจะถูกถ่ายทอดตามหลักการเป๊ะๆ เช่น ต้องมีผู้นำเสนอ (คือผู้สอนหรือผู้พูด) มีสื่อ (ที่ผ่านมาคือสื่อกายภาพต่างๆ เช่น กระดาษ แผ่นใส เพาเวอร์พอยท์ต่างๆ) และมีผู้รับ (คือผู้เรียนหรือผู้รับฟัง) ฉะนั้นมันเลยเป็นอะไรที่ออกจะไปทางเดียว เป็นการเรียนรู้แบบตั้งรับ (Passive learning) ทำให้ไม่เกิดประสิทธิผล (Effective) และมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร (Efficiency)
ต่อมาในประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา เจนแซท และเจนอัลฟ่า (GEN Z, Alpha) ก็เริ่มเข้าสู่ยุคที่มีการตอบสนองต่อสิ่งที่ได้รับมาจากการสื่อสารแบบดิจิตอลจำได้ไหมคะว่าแต่ก่อน (แล้วแต่ผู้อ่านจะอยู่รุ่นไหน) เวลาเราดูทีวี อ่านหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร หรือฟังวิทยุก็แล้วแต่ เราก็จะเป็นผู้รับฟัง เพราะเราไม่สามารถที่จะไปแสดงความคิดเห็นได้ทันที กว่าจะเขียนจดหมายถึงกองบรรณาธิการ หรือโทรเข้ารายการวิทยุ (ในยุคที่เริ่มมีโทรศัพท์) ก็ต้องใช้ความพยายามมากและใช้เวลานานมาก ก็เลยเหมือนถูกฝึกให้อยู่กับการรับฟังแต่เพียงอยากเดียว
แต่ตอนนี้เป็นยังไงคะ ไม่ว่าจะเป็นรายการสื่อสารแบบเก่าทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ (ที่ทุกวันนี้เปลี่ยนมาเป็นดิจิตอลหมดแล้ว) หรือรายการสื่อใหม่ๆ ทางอินเทอร์เน็ต โซเซียลมีเดีย ต่างๆ (รวมถึงพวกเราที่กำลังร่วมรายการนี้อยู่ด้วย) เราสามารถที่จะสื่อสารกันแบบเรียลไทม์ได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ารุ่นเก่าหน่อย (เช่นผู้เขียนเป็นต้น) จะปรับตัวเข้ากับสถานการณ์นี้ได้ทันท่วงที เพราะความคิด ทักษะและความรู้สึกในการสื่อสารที่เป็นสองทางนี้ต้องมีการฝึก
ทำไมต้องฝึก? ก็เพราะมันมีประโยชน์มากที่จะใช้ในการพัฒนาตัวเอง สมมติเราเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ และเห็นว่าผู้นำเสนอหรือผู้ถ่ายทอดทำให้เขารู้สึก หรือได้คิดอะไร ก็สามารถร่วมเสริมพลังในตอนนั้นได้เลย ทำให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วม สนุกสนานและเมื่อเกิดความรู้สึกที่ดีๆ ก็จะง่ายต่อการนำไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ แทนที่จะฟังแล้วฟังหูซ้ายทะลุออกไปหูขวา หรือไปกองไว้ จนฝุ่นจับไม่เคยได้ใช้ประโยชน์ก็สามารถแลกเปลี่ยนและรียนรู้กันได้เลย
มาลองดูซิคะว่าเราจะเริ่มสื่อสารกันทางกาย-ใจกับตัวเองด้วการแสดงออก ด้วยภาษาพูด-เสียง ภาษาเขียน-อ่านกันอย่างไรบ้าง
Comments