ชื่อ: ตื่นเต้น นามสกุล: กระตุ้น ชื่อเล่น: ฮึกเหิม มิตรสหายและเครือญาติ: กระตือรือร้น เร่าร้อน
Name: Excited Surname: Thrilled Nickname: Moved Affiliate with: Aroused, Eager, Delighted
ตอนที่เขียนคำความรู้สึกทรงพลังนี้ เป็นที่น่าสนใจว่า คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันในภาษาอังกฤษ มีเยอะมาก แต่ต้องพยายามคัดเลือกออกมาให้เหลือเพียง 5-6 คำตามสัญญาที่ให้ไว้ จะได้ไม่มากไป เพียงพอ สำหรับการเรียนรู้ในแต่ละรอบที่มาอ่านแต่ปรากฎว่า การหาคำที่เหมือน หรือกลุ่มคำเดียวกันกับคำว่า “ตื่นเต้น” ในภาษาไทยมีน้อยมากเลยต้องได้ใช้คำเก่าๆ ที่เคยใช้มาในกลุ่มความรู้สึกทรงพลังก่อนหน้านี้มาใช้ใหม่อีกรอบ เช่น คำว่าน่าสนใจ ส่วนคำกว่า กระตุ้น และเร่าร้อน ต้องหามาเติมเอง
ทั้งนี้เข้าใจว่า คำว่า “ตื่นเต้น”ในภาษาไทย มีการผูกไปกับความรู้สึกตื่นเต้นในด้านที่ไม่ค่อยจะเป็นบวกเท่าไหร่ เช่น ตื่นเต้น เพราะ กังวล ร้อนใจ ตื่นตระหนก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการใช้คำในแต่ละภาษา ดังนั้นในตอนนี้จะได้กล่าวถึงการตีความหมายของคำในแต่ละวัฒนธรรมคำว่าตื่นเต้นน่าจะเป็นคำที่เป็นอารมณ์ทรงพลังที่ไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควรในสังคมไทย อาจเป็นเพราะ ความรู้สึกนี้ ไปขัดแย้งกับแนวคิดที่เคยได้พูดไว้ตั้งแต่ต้น คือการตัดสินใจด้วยอารมณ์เป็นคนเจ้าอารมณ์ ไปตามอารมณ์ เป็นต้น เมื่อคำสอนเหล่านี้ในวัฒนธรรมถูกส่งต่อกันมา รุ่นต่อรุ่น ครอบครัว โรงเรียน สังคม ก็เลยไม่ค่อยให้ความสำคัญของความรู้สึกหรืออารมณ์ เพราะว่าการใช้อารมณ์ เหมือนกับการทำอะไรที่ผิด การทำอะไรที่ถูกต้อง ดีงาม ในสังคมเราคือต้องมีเหตุมีผล
แต่อย่างที่ได้เขียนไว้ในหลายตอนแล้วก็คือว่า ในการศึกษาเชิงลึกทางวิทยาศาสตร์ พบว่า เรื่องสมอง ความคิด อารมณ์ ตรรกะ มันเป็นเรื่องเดียวกัน เพียงแต่เราให้นิยาม กำกับไว้ ทำให้เราเลือกที่จะโอนเอียงไปทางใดทางหนึ่งในความเป็นจริงแล้ว ความคิดของเรามาจากทั้งสมองทั้งสองฝั่ง ฝั่ง ขวา (อารมณ์-ความรู้สึก) และฝั่งซ้าย (เหตุ-ผล) และเมื่อธรรมชาติให้มาแล้ว เราควรจะใช้ทั้งสองฝั่งให้เป็นประโยชน์สูงสุด และการที่เราจะใช้เขาได้ดี คือเราต้องเรียนรู้ที่จะเข้าใจเขา ฝึกใช้เขา
เรื่องความรู้สึกตื่นเต้น เป็นสภาวะที่ใจไม่นิ่ง ไม่สงบ เป็นสภาวะที่ถูกกระตุ้น ฮึกเหิม มีพลัง ซี่งจำเป็น ในการที่จะต้องเลือก หรือตัดสินใจทำอะไรที่แตกต่าง ไม่เหมือนเดิม ถ้าเปรียบอารมณ์เราเหมือนเด็ก การเป็นเด็กที่ว่านอนสอนง่ายเป็นเรื่องที่ดี แต่ในการได้มาซึ่งเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นผู้นำ เป็นผู้สร้างความเปลี่ยนแปลง เราก็อาจต้องแลกกับความมเป็นเด็กที่โต่งๆ ไปทางอารมณ์ ที่ซุกซน ไม่ราบเรียบ พอสมควร
อีกแบบที่เปรียบเทียบได้คือเหมือนเราจะก้าวข้ามอะไรสักอย่าง การเผชิญหน้าอะไรที่แตกต่างเราจะเกิดความรู้สึกตื่นเต้น บางคนอาจจะบอกว่าน่ากลัว หรือท้าทายด้วยซ้ำไป จึงถือว่าเป็นความรู้สึกที่ดี มีพลัง และต้องมีเพื่อให้เกิดแรงดันและแรงผลักดัน (Pressure -Push) พลังงานเหล่านี้จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างเช่น ถ้าเรากล้าที่จะมาร่วมสังคมสร้างสรรค์ กับความรู้สึกทรงพลังไปกับสบายใจเลย ก็จะเริ่มรู้สึกว่าเราต้องเลือก
เริ่มรู้สึกตื่นเต้นแล้วใช่ไหมคะจะบอกว่าเป็นความตื่นเต้นที่ดี ขอเชิญมาร่วมสร้างความแตกต่างไปด้วยกันเลยค่ะ
Kommentare