top of page
eatloeithailand

หนึ่งหน้า...น่าอ่าน...มาทัมใจ....ให้สบาย ไปกับ สบายใจเลย



ชื่อ: วิตก นามสกุล: กังวล ชื่อเล่น เครียด มิตรสหายและเครือญาติ: กลัว คิดหนัก

Name: Anxious Surname: Worried Nickname: Stress Affiliate with: Afraid, Fearful

ความวิตกกังวล เป็นความรู้สึกหนึ่งของคนสามารถอธิบายได้ว่าเป็นการตอบสนองต่อภัยคุกคามมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับความกลัว เป็นการตอบสนองปกติที่เกิดขึ้นทั้งในมนุษย์และในสัตว์ ในการตอบสนองทางกายภาพคือการเชื่อมโยงกับระบบ "สู้หรือหนี" (Fight or Flight Mode) โดยระบบประสาทอัตโนมัติจะแสดงออกในรูปแบบต่างๆ เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ ระบบประสาทตื่นตัวมากขึ้น ทำให้เกิดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ หรือเป็นแบบตรงกันข้ามไปเลยคือ อ่อนแรง เป็นลม ความวิตกกังวลที่เป็นปกติ ควรจะเปิดเตือน (Alarm) เป็นเมื่อรู้ว่าจะมีเหตุการณ์บางอย่างที่ต้องเตรียมตัว เตรียมใจ เช่น การสอบ การแข่งขัน กิจกรรมหรืองานบางอย่าง และปิดหรือลดระดับความตึงเครียดลง เมื่อถึงเวลาต้องทำอย่างอื่น เช่น การเรียน การทำงาน หรือพักผ่อนหลับนอน แต่ปัจจุบันความวิตกกังวลกลายเป็นปัญหา เพราะ ระบบเตือนภัยเปิดอยู่ตลอดเวลา นั่นคือกังวลไปกับทุกๆ เรื่อง วิตกกับบางสิ่งที่เคยเกิดขึ้นแล้วมีความทรงจำที่ไม่ดี และกังวลไปกับเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังไม่เกิด เช่น อาจเคยถูกโกงเงิน ทำให้กังวลไปกับการลงุทนธุรกิจใหม่ หรือเคยสอบไม่ผ่าน ทำให้กังวลเรื่องการสอบครั้งใหม่ หรือตอบสนองรุนแรงเกินไปต่อสิ่งเร้า เช่น มีเป้าหมายจะแข่งขันอะไรบางอย่าง ทำให้มีเตรียมตัวมากเกินไปหรือตลอดเวลา หรืออยากลดน้ำหนัก จนกังวลเรื่องกินตลอดเวลาหรือไม่กินอาหารเลย เป็นต้น ความวิตกจึงเกิดผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและการพักผ่อน อีกหนึ่งปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความกังวลคือ บางคนปิดระบบความวิตกกังวลด้วยการไม่ตอบสนองไปเลย (Avoidance) เช่น การไม่ยอมรับการวางแผนการเรียน การทำงานในอนาคต การไม่เตรียมตัวเกี่ยวกับกิจกรรมบางอย่างที่ต้องทำให้เสร็จ ความความวิตกกังวลที่มากเกินไปซึ่งทำให้เกิดความบกพร่องทางอารมณ์ในการการทำงานตามสภาวะปกติ หรือการหลีกเลี่ยงกิจกรรมสำคัญและผู้คนในชีวิตส่วนตัวและสังคม ทำให้เกิดภาวะความทุกข์ในการใช้ชีวิต ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วก็ไม่ได้มีอะไรผิดปกติเกินไป

จริงๆ แล้ว ความวิตกกังวลถือว่า เป็นอารมณ์และความรู้สึกของคน ที่สามารถนำมาใช้เป็นพลังขับเคลื่อน เพื่อประโยชน์เชิงสร้างสรรค์ได้ เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพในการเรียน ทำงาน การแข่งขันกีฬา หรือการพูดในที่ชุมชน การทำครอบครัวให้อบอุ่น ให้บรรลุเป้าหมายในชีวิตได้ดีขึ้น แต่หลายคนที่ยังอยู่ในจุดนั้น คงต้องให้แนวทางและกำลังใจในการถอยห่าง ออกมาก่อน เพื่อที่จะไม่อยู่กับสิ่งนั้นมากเกินไป ในตอนต่อไปจะได้พาไปรู้จักเขาให้ดีขึ้นก่อน เมื่อเราได้รู้จักมันแล้ว ตอนต่อๆ ไป เราค่อยมาหาแนวทาง ให้สามารถใช้ประโยชน์จากเขาได้ จะอยู่อย่างสร้างสรรค์ เพื่อไปอยู่ในจุดที่ทำเพื่อให้เราอยู่กับเขาได้อย่างมีความสุขกันค่ะ


1 view0 comments

Comentarios


bottom of page