top of page

ความรู้สึกเกิดจากอะไร มาจากไหน? Where does emotion come from?

2.2 ความรู้สึกเกิดจากอะไร มาจากไหน? Where does emotion come from?


คนเราก็ต้องทำหน้าที่สำคัญแรกคือความอยู่รอด (Survival Instinct) เกิดมาแล้วไม่มีเด็กคนไหนจะกลั้นหายใจ ไม่ร้อง เพื่อให้ตัวเองไม่มีชีวิต ทุกชีวิตต้องการอยู่รอด นั่นคือแอพพลิเคชั่นจำเป็นที่สิ่งที่ฝังมากับสมอง แต่จุดอ่อนของการอยู่กับของเก่าก็มี เทียบง่ายๆ ความอยู่รอดก็เหมือนแอพพลิเคชั่นบางตัวที่มากับโทรศัพท์ ส่วนมากใช้ไปสักพักก็จะเริ่มช้า และล้าหลัง ไม่ค่อยมีประโยชน์เต็มที่ จึงจำเป็นต้องมีการลงซอฟท์แวร์ใหม่ๆ อัพเดทกันไปเรื่อยๆ นั่นหมายความว่าถ้าเรายังสนใจแค่เรื่องความอยู่รอด ก็เหมือนเราใข้แอพพลิเคชั่นเดิมๆ เก่าๆ ที่ติดเรามาตั้งแต่ต้น

ข่าวดีคือ มนุษย์เรายังมีอีกซอฟท์แวร์อีกส่วนหนึ่งที่เร็วกว่า ดีกว่าแค่การอยู่รอด ส่วนนี้เรียกว่าสมองส่วนหน้า ซึ่งทำหน้าที่ ที่จะคิดต่อได้ว่าหลังจากฉันมีชีวิตรอด แล้วต้องทำอย่างไรต่อ เพื่อให้รอดได้อย่างดี มีคุณภาพ มีเป้าหมายในชีวิต ไม่ว่าจะด้านไหนก็แล้วแต่ที่แต่ละคนได้รับการฝังมา คนที่ได้รับซอฟ์ทแวร์พื้นฐานมาว่าให้เก่ง เด่น และดี ทางด้านไหน ก็แตกต่างกันไปมากมาย ตามหลักวิชาการ เขาบอกว่าสมองส่วนหน้านี้จะได้รับการพัฒนาเต็มที่เมื่ออายุ 25 ปี นั่นคือตั้งแต่เกิดมาเราก็เรียนรู้ที่จะอยู่รอดก่อนและเริ่มเรียนรู้ที่จะอยู่รอดแบบแอดวานซ์ไปเรื่อยๆ แต่ก็อย่างที่บอกซอฟ์ทแวร์หรือแอพลิเคชั่นนี้ แม้จะพัฒนาเต็มที่เมื่ออายุ 25 แต่ไม่ได้หมายความว่าจะ อัพเดทเวอร์ชั่นใหม่ๆ ไม่ได้ ยังมีความยืดหยุ่น (Plasticity) และทำได้ (ถ้าอยากจะทำ แต่อาจจะช้าๆ หน่อย) และทำได้โดยไม่ได้มีข้อจำกัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะอยาก เข้าถึง เข้าหา เพื่ออัพเดทตัวเองหรือไม่

แล้วทำไมเราถึงไม่กล้าแสดงอารมณ์หรือความรู้สึกออกมาให้เต็มที่? ก็อย่างที่บอกว่า ส่วนหนึ่งคือ เรื่องของการบอกสอนให้มีการควบคุมอารมณ์ (ซึ่งการควบคุมอารมณ์ในมนุษย์ ก็เป็นกลไกของสมองส่วนที่พัฒนาแล้ว ตามที่หลายท่านได้ทราบว่ามันเป็นกลไก ของ สมองส่วนอีเอฟ (Executive Function) ในกรณีนี้เราถ้าใช้ตัวอย่างเดิมคือ เรื่องของแก๊สในท้องก็คงเป็นเป็นการระบายด้วยการตดหรือการเรอ อันเป็นเป็นกลไกตามธรรมชาติ แต่สังคมเราส่วนหนึ่งเห็นว่า เสียงหรือ กลิ่นที่ออกมานั้น น่าอาย ไม่เหมาะสม ก็เลยเป็นการเก็บไว้ จึงมีผลกระทบตามมา (เช่น อาจปวดท้องหนักกว่าเดิม) กลับมาที่ส่วนของอารมณ์ ถ้าเป็นการถูกควบคุมไว้ตลอด ในระยะเวลายาวนาน ก็อาจเกิดผลเสียหนักกว่าเดิมเป็นต้น

เอ้า แล้วจะให้ทำอย่างไร อ่านมาทางหนึ่งก็บอกให้ควบคุม อีกทางก็ให้แสดงออก? นี่แหละค่ะ คือเสน่ห์ของการมีชีวิตอยู่ของคน เพราะมันจะไม่มีอะไรเลยที่เป็นคำตอบตายตัว ทุกอย่างจะเป็นไปตามความเหมาะสมและสถานการณ์ มีความยืดหยุ่น (Flexibility) มีการปรับตัว (Adaptability) เขาถึงเรียกว่าทุกอย่างเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ นั่นคือในส่วนหนึ่งเรามต้องมีกำหนด กฎเกณฑ์ มีเหตุ มีผล และอีกส่วนหนึ่งก็ต้องมีความยืดหยุ่น (Flexibility) และลื่นไหล (Flow) ตอนต่อไป เราถึงได้พูดถึงกันว่า แล้วจะทำอย่างไรให้เกิดสมดุลย์ในการแสดงออกและเกิดความสบายใจค่ะ


2 views0 comments
bottom of page