top of page

หนังสือสร้างนิสัย The Energy Bus : Rule #3 Fuel Your Ride with Positive Energy

กฎข้อที่ 3 Fuel Your Ride with Positive Energy เราเลือกเติมพลังบวก พลังงานดีๆ ให้กับรถเราได้ เทียบให้เป็นเหมือนการขับรถ เราจะต้องรู้ว่าเราอยากไปไหน ให้รู้ว่าเราเป็นคนขับ เป็นคนควบคุมเส้นทางการเดินทางเอง ในการเดินทางเราต้องมีพลังงาน เหมือนการเติมน้ำมันแต่ละวัน คำถามคือว่าเราจะเติมพลังงงานแบบไหน ใส่น้ำมันอะไรเข้าไป วิธีการง่ายๆ ให้ดูตามสมการต่อไปนี้

E+P = O
E is Event สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา
P is Perception การที่เราตีความหมายของสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
O is Out come ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้้น

และในบทความนี้ สบายใจเลยขอขยายความจากแค่ Outcome ให้เป็น Opportunity หรือโอกาสที่เราได้มาจากการวิเคราะห์และตีความหมายจากสถานการณ์



เป็นความจริงที่เราต้องยอมรับให้ได้ว่า โดยส่วนใหญ่แล้วเราไม่สามารถควบคุม Event หรือสถานการณ์ภายนอกที่เกิดขึ้นได้  แต่สิ่งที่เราควบคุมได้ก็คือ Perceptions คือมุมมอง หรือ ความคิดของเรานั่นเอง ที่เราจะมองเห็นสถานการณ์นั้นๆ ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งจะส่งผลต่อกลายเป็น Outcome หรือ Opportunity   คือผลลัพธ์หรือโอกาส ที่เราอยากให้ได้อยากให้เป็น


พลังงานลักษณะไหนบ้างที่เราต้องการเติมให้กับรถของเรา? ก็ต้องเป็นพลังงานที่เต็มไปด้วยความกระตือรือร้น (Enthusiasm) เต็มไปด้วย การมีเป้าหมาย (Purposeful) เต็

มไปด้วยความสนุกสนาน (Joyful) และการมีความสุขด้วยในระหว่างทาง (Happiness) เหล่านี้คืพลังงานที่เราอยากให้มีในรถของเรา ความรู้สึกหรือพลังงานเหล่านี้ก็คงเปรียบได้เหมือนกับน้ำมันที่มีค่าออกเทนสูง


พลังงานที่แรงและสะอาดจะทำให้เราขับเคลื่อนได้ดีและเร็ว ถ้าเราเกิดมีพลังงานเชิงลบเกิดขึ้นในแต่ละวัน จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในชีวิต เราก็ปล่อยมันไป ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเห็นว่าเรามีงานเยอะจังเลยกองสุมหัวอยู่ เราก็สามารถปรับจากพลังงานเชิงลบที่ว่างานสุมหัว ไปเป็นว่า ก็ดีนคะ เรายังมีงานทำ และถ้าเราไม่มีงานทำ หรือนึกถึงคนอื่นๆ ที่ตกงานจะเป็นอย่างไร หรือถ้าเกิดเราไปกินข้าวที่ร้านอาหารแล้ว มีการรับออเดอร์ผิด หรือ อาหารไม่ถูกปาก ก็ให้ลองนึกไปว่าถ้าคนไม่มีอันจะกิน เขาจะรู้สึกอย่างไร


วิธีการปรับความคิดจากพลังงานเชิงลบไปบวก มีการยกตัวอย่างถึงนักกอล์ฟ มีบ่อยครั้งไปที่เขาตีพลาด แต่การฝึกเป็นนักกอล์ฟที่ประสบความสำเร็จ เขาจะไปไม่เอาใจจดจ่อไปกับครั้งที่เขาตีพลาด แต่เขาจะมุ่งเป้าไป ณ เวลาที่เขาตีได้ดี ทำได้สำเร็จ ถ้ามาเรื่องที่ใกล้ตัวหน่อย เช่น เรื่องการพูดคุยกับคนที่บ้าน แทนที่จะพูดถึงเรื่องที่มันไม่ดีที่เกิดขึ้นในวันนั้น ก็ลองดูว่ามีอะไรที่ดีๆ เป็นเวลาที่เราสะท้อนให้ตัวเองและครอบครัวได้เห็นในวันนั้น


ในตอนนี้มีตัวอย่างหลากหลายรูปแบบมาฝากกัน เราลองไปประยุกต์ใช้ดูนะคะ


bottom of page